รหัส |
: |
76708 |
ชื่อพระ |
: |
พระพุทธชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ ปี๒๔๘๕ พิมพ์สังฆาฏิยาวหน้านาง พิมพ์C |
สถาณะ |
: |
|
ราคา |
: |
โชว์ |
รายละเอียด |
: |
#พระพุทธชินราชอินโดจีน #วัดสุทัศน์ #ปี๒๔๘๕ #พิมพ์สังฆาฏิยาวหน้านาง #พิมพ์C\\n\\n#ชินราชอืนโดจีนพระเครื่องของทหารผีเมืองไทย\\n \\\"พระอินโดจีน\\\"ถือกันว่าเป็นสุดยอดของพระเครื่องในยุคก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๐ โดยเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ สมาคมพุทธศาสนาในประเทศไทยซึ่งมีอยู่ ๒ สมาคม คือ พุทธธรรมสมาคม และ สมาคมยุวพุทธ ซึ่งในปีนั้นทางพุทธธรรมสมาคม ได้ดำริที่จะจัดสร้างพระพุทธชินราชจำลองขึ้น ซึ่งมีขนาดหน้าตักประมาณ ๑๑ นิ้ว และจะส่งไปในจังหวัดต่าง ๆทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา เพราะถือว่าพระพุทธชินราชเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของคนไทย และทางสมาคมยังมีดำริให้สร้างพระเครื่องเป็นรูปพระพุทธชินราชขนาดเล็กซึ่งเป็นรูปหล่อขึ้นอีกจำนวนประมาณ ๘๔,๐๐๐ องค์ซึ่งเท่ากับพระธรรมขันธ์ โดยในปี พ.ศ.๒๔๘๓ ได้เริ่มมีการเทหล่อพระพุทธชินราชได้ในบางส่วน แต่ก็ต้องหยุดชะงักลงเพราะได้เกิดสงครามอินโดจีนขึ้น จนกระทั่งสงครามอินโดจีนได้สงบลง ทั้ง ๒ สมาคมได้ตกลงใจที่จะรวมกันเพื่อจัดตั้งสมาคมขึ้นใหม่เป็น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย และนำเอาตราธรรมจักรมาเป็นเครื่องหมายของสมาคม และได้แต่งตั้งพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วทางพุทธสมาคมก็ได้ดำเนินการจัดสร้างพระพุทธชินราชทั้งพระบูชา และพระเครื่องต่อไปอีกครั้งในวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ ซึ่งถือว่าเป็นวันเสาร์ ๕ พอดี\\n\\nทางด้านพิธีกรรมในการจัดสร้างและปลุกเสกนั้น วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นผู้ดำเนินการ โดยมี พระเดชพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติธฺสเทวมหาเถระ) เป็นประธานดำเนินการสร้าง และ มีท่านเจ้าคุณมงคลราชมุนี (ท่านเจ้าคุณศรีฯสนธิ์) เป็นแม่งานในการสร้างพระพุทธชินราช ในส่วนที่เป็นพระเครื่องนั้น สมเด็จพระสังฆราชแพ ท่านได้นำเอาชนวน พระกริ่งที่ท่านได้สร้างก่อนหน้านี้มาหลอมลงในเบ้าผสมเป็นจำนวนมากและยังมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นก็ได้มอบแผ่นยันต์ให้อีกเป็นจำนวนมากด้วยเพื่อนำมาเป็นส่วนผสมหลัก เมื่อหล่อพระเสร็จแล้ว ได้จัดให้มีพิธีปลุกเสกขึ้น เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งมีพระคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณยอดเยี่ยมแห่งยุคจำนวนถึง ๑๐๘ รูป ซึ่งพิธีปลุกเสกของพระรุ่นนี้จัดได้ว่าเป็นพิธีมหาพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้นเลยก็ว่าได้ รายนามพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสกคือ\\n \\n\\n1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์เทพวราราม\\n2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม\\n3.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา\\n4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก\\n5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง\\n6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู\\n7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว\\n8.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง\\n9.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง\\n10. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว\\n11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด\\n12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ\\n13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง\\n14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ\\n15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา\\n16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ\\n17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก\\n18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์\\n19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่\\n20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส\\n21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ\\n22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์\\n23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา\\n24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้\\n25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ\\n26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค\\n27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ\\n28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้\\n29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี\\n30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง\\n31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ\\n32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม\\n33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม\\n34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ\\n35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน\\n36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน\\n37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด\\n38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก\\n39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ\\n40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์\\n41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ\\n42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ\\n43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง\\n44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน\\n45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ\\n46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ\\n47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ\\n48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ\\n49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม\\n50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์เทพวราราม\\n51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ\\n52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา\\n53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก\\n54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน\\n55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ\\n56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน\\n57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส\\n58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง\\n59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว\\n60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม\\n61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม\\n62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง\\n63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก\\n64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ\\n65. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง\\n66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ\\n67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว\\n68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง\\n69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า\\n70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง\\n71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา\\n72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง\\n73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า\\n74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี\\n75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ\\n76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม\\n77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม\\n78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์\\n79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว\\n80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง\\n81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง\\n82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร\\n83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ\\n84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ\\n85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก\\n86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ\\n87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา\\n88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ\\n89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม\\n90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา\\n91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม\\n92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์\\n93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง\\n94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม\\n95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง\\n96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง\\n97.หลวงพ่อพรหมสร(รอด) วัดบ้านไพ\\n98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร\\n99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ\\n100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด\\n101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย\\n102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ\\n103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ\\n104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง\\n105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา\\n106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น\\n107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ\\n108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสกแต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี) |
ชื่อร้าน |
: |
เอราวัณ |
เบอร์โทรศัพท์ |
: |
0871914956 |
จำนวนคนเข้าชม |
|
40 คน |
------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น