พระชัยวัฒน์สามเหลี่ยมแบบหนาอุดกริ่งรูปเหมือนกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ๑๖ ธ.ค.๘๑ ตอกโค๊ต ป วัดราชบพิธฯ

พระชัยวัฒน์สามเหลี่ยมแบบหนาอุดกริ่งรูปเหมือนกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ๑๖ ธ.ค.๘๑  ตอกโค๊ต ป  วัดราชบพิธฯ

พระชัยวัฒน์สามเหลี่ยมแบบหนาอุดกริ่งรูปเหมือนกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ๑๖ ธ.ค.๘๑  ตอกโค๊ต ป  วัดราชบพิธฯ

รหัส : 4542 
ชื่อพระ : พระชัยวัฒน์สามเหลี่ยมแบบหนาอุดกริ่งรูปเหมือนกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ๑๖ ธ.ค.๘๑ ตอกโค๊ต ป วัดราชบพิธฯ
สถาณะ :
ราคา : โชว์พระ
รายละเอียด : ***** พระพิมพ์นี้ มีตัวย่อเป็นโค๊ตใต้ฐานพระแตกต่างกันออกไป เช่น ร / ล / ศ / ป / ว / พ โดยเคยมีนักเล่นนักสะสมวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์ว่า ร หมายถึงหลวงพ่อรุ่งฯ ล หมายถึงหลวงพ่อเลียบฯ ศ หมายถึงหลวงพ่อโศก ป หมายถึงหลวงพ่อปาน พ หมายถึงหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ ( ส่วน ว ผมจำไม่ได้ว่าหมายถึงท่านใด ) แต่ในที่สุดก็ลงความเห็นว่าไม่น่าจะเป็นชื่อย่อของพระเกจิอาจารย์เหล่านี้ แต่น่าจะเป็นชื่อย่อของการแบ่งกลุ่ม หรือ การแบ่งสายของบุคคลที่เป็นหัวหน้าทีมในการรับจองแต่ก็ไม่อาจจะสืบค้นได้ว่าเป็นชื่อย่อของท่านผู้ใด และที่ลงความเห็นดังนี้ ก็เพราะวิเคราะห์ว่าเช่น ตัวอย่างตัวย่อโค๊ต ป นั้น ไม่น่าจะหมายถึงหลวงพ่อปานฯ เพราะเมื่อทำพิธีเศกพระชุดนี้ในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๑ นั้น หลวงพ่อปานฯท่านได้มรณภาพไปแล้ว ( หลวงพ่อปานฯท่านมาร่วมในพิธีได้ในครั้งที่ ๑ ครั้งเดียวเท่านั้น) ดังนั้นเขาจึงลงความเห็นว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ว่า ป จะหมายถึงหลวงพ่อปานฯ ***** แต่ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมวิเคราะห์ว่าเป็นอักษรย่อที่หมายถึงหลวงพ่อปานฯแน่นอน โดยเมื่อครั้งที่ท่านมาเข้าพิธีครั้งที่ ๑ ท่านได้สั่งจองพระเอาไว้กับ พ.อ.พระยาศรีสุรสงคราม ซึ่งเป็นแม่กองการสร้างพระของวัดราชบพิธฯยุคนั้น และได้ชำระหรือจ่ายค่าสร้างให้ไว้เป็นการล่วงหน้าก่อนแล้วด้วย หลักฐานปรากฏอยู่ในแผ่นทองเหลืองที่ใช้จารึกรายนามผู้บริจาคทรัพย์ในการนี้ปรากฏมีรายชื่อตามบัญชีผู้บริจาคในการสร้าง คือ พระครูวิหารกิจจานุการ(ปาน) วัดบางนมโค บริจาค ๑๐๐ บาท ( สมัยนั้นบริจาคค่าสร้างพระองค์ละ ๑ บาท เท่านั้น ครับ ) ***** หลักฐานจารึกชื่อผู้ร่วมบริจาคบนแผ่นทองเหลืองดังว่านี้ เคยมีอดีตพระมหาตนหนึ่ง แห่งวัดราชบพิธฯ ได้รับปากกับผมเมื่อครั้งที่ได้มาขอภาพพระชุดนี้จากผมไปพิมพ์หนังสือของวัดราชบพิธ โดยรับปากอย่างแข็งแรงว่าจะถ่ายภาพแผ่นจารึกนี้มาให้ผม แต่จนบัดนี้ทราบว่าสึกออกไปเป็นปีแล้ว ครั้นโทรศัพท์ไปทวงถาม ก็รับปากแข็งแรงทุกครั้ง(๔-๕ ครั้งแล้ว) แต่ก็ไม่ได้ความทุกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นหนังสือที่รับไปพิมพ์ให้กับวัด(เล่มใหญ่เกี่ยวกับวัตถุมงคลของวัด) พบว่ามีส่วนหนึ่งที่ผู้นี้แอบสอดแทรกและบิดเบือนความจริงที่สำคัญเกี่ยวกับพระกริ่งอังคีรส ๒๔๘๑ ที่ตนได้ไปหลอกเอาพระกริ่งฯไปจากกุฏีพระผู้ใหญ่แล้วอาสานำไปจำหน่ายจนตกควายไปร่วม ๑๐๐ ชุด หนังสือเล่มใหญ่ดังว่านี้ได้ไปรวบรวมข้อมูลและรูปภาพจากหลาย ๆท่าน เช่นท่านกำธร พุทธาคม เป็นต้น แต่อดีตพระรูปนี้ อาสาวัดเป็นผู้รวบรวมบทความและรูปภาพไปติดต่อกับโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือพระเครื่องเล่มใหญ่ของวัดราชบพิธฯที่ว่านี้ แล้วได้แอบสอดแทรกข้อมูลที่ตนคิดว่าถูกต้อง(แต่ความจริงผิด)ลงไป ผมไม่ทราบว่าเจ้ากูมีเจตนาที่แท้จริงเป็นอย่างไร แต่เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานแวดล้อมต่าง ๆแล้ว สันนิษฐานว่าเพื่อปกปิดความจริงที่ตนผิดพลาดไปในการนำพระกริ่งอังคีรสที่บังเอิญพระผู้ใหญ่ไปค้นพบในกุฏีแห่งหนึ่งโดยไม่ทราบว่าท่านใดเป็นผู้เก็บเอาไว้ แล้วอาสานำไปจำหน่ายในราคาตกควาย (ไม่ทราบว่าแกล้งโง่ หรือ โง่จริง) พระชุดตกควายเป็นพระกริ่งอังคีรสและพระชัยวัฒน์ ๒๔๘๑ ที่ตนเข้าใจผิดว่าเป็นพระที่สร้างใน พ.ศ.๒๔๙๑ เพราะหลักฐานการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ที่ตนค้นพบนั้น ไม่มีรูปภาพลงไว้ ตนจึงเข้าใจว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระกริ่งอังคีรส พ.ศ.๒๔๘๑ ประเภทรู้น้อยระเริงว่ารู้มากทรนงตน ข้อสันนิษฐานที่ผิดพลาดนี้ อดีตพระรูปนี้ก็ได้เคยนำมาสอบถามกับผมก่อนนำไปดันทุรังพิมพ์ ผมก็ได้ให้ข้อมูลไปว่าพระกริ่งอังคีรสที่ท่านได้จำหน่ายแบบตกควายไปนั้น ไม่น่าจะเป็นพระกริ่งที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๙๑ นะครับ เพราะพระชุดนี้ ท่านขุนชำนิฯอดีตอาจารย์ใหญ่วัดราชราชบพิธฯซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดกับหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว ได้เคยนำไปถวายหลวงปู่เผือกฯ และหลวงปู่ฯก็ได้นำออกแจกจ่ายศิษยานุศิษย์ที่วัดกิ่งแก้ว เมื่อราว ๆปี พ.ศ.๒๔๘๑ (มีบันทึกอยู่ที่วัดกิ่งแก้วนะครับ) จนผู้คนที่ได้รับแจกยังหลงเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพระกริ่งรุ่นแรกของหลวงปู่เผือก (พระครูกรุณาวิหารี)กันอยู่พักใหญ่กว่าจะรู้ความจริงกัน พระที่นำออกแจกราว ๆปี พ.ศ.๒๔๘๑ จะสร้างในปี พ.ศ.๒๔๙๑ ได้อย่างไร (แจกก่อนสร้าง เป็นไปได้หรือ สมี ?) แต่ไอ้สมีฯนี่ก็ไม่ฟังเสียง เรียกว่ามันกล้าชั่วทั้ง ๆอยู่ในผ้าเหลืองเลย แหะ ๆ แต่ความจริงก็มีให้เห็นเยอะนะ อลัชชีเสือเหลืองเลื้อยเพ่นพ่านอยู่ทั่วไปในประเทศสยองดินแดนสยาม ฮ่า ฮ่า ว่าง ๆจะเล่าให้ฟังอีก เรื่องเจ้ากูตะกวด ๆแบบนี้ หนังสือรวบรวมพระเครื่องของวัดราบพิธฯนี้พิมพ์ออกมาในนามของวัด โดยมีข้อเขียนส่วนใหญ่จากการค้นคว้าของท่านกำธร พุทธาคม ซึ่งมีชื่อเสียงว่าท่านเป็นผู้ที่รอบรู้ลึกซึ้งในเรื่องการสร้างพระเครื่องของวัดราชบพิธฯ แต่เท่าที่เคยค้นคว้าเรื่องที่ท่านกำธรฯเขียน ท่านกำธรฯก็ไม่เคยมีความเห็นใด ๆเกี่ยวกับพระกริ่งอังคีรสนี้เลย นักสะสมรวมทั้งผมเองถือว่าท่านกำธรฯเป็นปราชญ์ในข้อมูลเหล่านี้ เมื่อข้อเขียนของสมีตนนี้สอดแทรกอยู่ในข้อเขียนของท่านกำธรฯ ผู้คนที่ได้อ่านจึงหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลจากท่านกำธรฯทั้งหมด หารู้ไม่ว่าได้โดนสอดไส้จากไอ้สมีตนที่ผมนำมาถลกหนังให้ฟังนี่ไงล่ะ ไอ้โคตรโคโมโดะเอ๊ย ... ว่าง ๆจะนำภาพกระกริ่งอังคีรส ๒๔๘๑ ที่แม้แต่เฮียเกี๊ยก ทวีทรัพย์ สายตรงพระกริ่งพระรูปหล่ออันดับหนึ่งของประเทศ ท่านก็ยืนยันว่าสมเด็จพระสังฆราชแพฯ ทรงอำนวยการสร้างถวายเป็นพระชัยจุติฯให้กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ฯ ตามขนบธรรมเนียมแต่โบราณกาลแจกจ่ายในงานถวายพระเพลิงพระศพของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯวัดราชบพิธฯพระองค์นั้นนั่นเอง  
ชื่อร้าน : kik-kok
เบอร์โทรศัพท์ :
จำนวนคนเข้าชม   4,045 คน 


------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย 
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น