พระพิมพ์ซุ้มระฆัง กรุอรัญญิก พิษณุโลก

พระพิมพ์ซุ้มระฆัง กรุอรัญญิก พิษณุโลก

พระพิมพ์ซุ้มระฆัง กรุอรัญญิก พิษณุโลก

รหัส : 52755 
ชื่อพระ : พระพิมพ์ซุ้มระฆัง กรุอรัญญิก พิษณุโลก
สถาณะ :
ราคา : โทรถาม
รายละเอียด : "อรัญญิก" มีความหมายถึง ป่า เช่นเดียวกับคำว่า "วน หรือ พน" ดังคำว่า "สมเด็จพระวนรัตน์" หมายถึง สมเด็จแห่งวัดป่าแก้วผู้เป็นใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี คำว่าอรัญญิก นั้นพบตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในจารึก และตามเมืองสำคัญมักมีวัดสองประเภท คือวัดเมืองเรียกว่า วัดคามวาสี และวัดป่าเน้นวิปัสสนาธุระเรียก วัดอรัญวาสี ความสำคัญของอรัญญิกนั้น ปรากฏในจารึกของสุโขทัยกล่าวถึง "เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้ มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทาน แก่มหาเถร สังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร หลวกกว่าปู่ครูทั้งหลายในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา" ซึ่งอาณาเขตของอรัญญิกสมัยสุโขทัย ได้แก่ วัดสะพานหิน วัดถ้ำหีบ วัดเขาพระบาทน้อย วัดเจดีย์งาม เป็นต้น ที่เมืองพระพิษณุโลก มีวัดสำคัญฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานชื่อ วัดอรัญญิก มีเจดีย์ทรงลังกาสมัยสุโขทัยปรากฏช้างล้อมนับเป็นเจดีย์สำคัญองค์หนึ่งของเมือง สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท และได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดอรัญญิก เป็นวัดโบราณสมัยสุโขทัย ตั้งอยู่อำเภอเมือง จังหวัด พิษณุโลก ห่างจากบริเวณนอกกำแพงเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวิหารไปทางทิศตะวันออก 2 ก.ม. ตามเส้นทางหลวง พิษณุโลก-วังทอง ข้ามสะพานสูง (ข้ามทางรถไฟ) เลี้ยวซ้าย ตรงสี่แยกไฟแดง ตรงข้ามถนนพระองค์ขาว แล้วเลี้ยวขวาอีก 50 เมตร ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัด แต่เดิมจะมีศูนย์กลางอยู่ที่เจดีย์องค์ประธานเป็นทรงลังกา มีฐานกลม องค์ระฆังเหลือครึ่งซีกจนถึงบัลลังก์ มีช้างล้อมที่ฐานซึ่งปัจจุบันชำรุดแทบหมดสิ้น พบร่องรอยการบูรณะจึงมี รูปแบบผสมผสาน พบซากอุโบสถ ซากใบเสมาหินศิลปะสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน สุโขทัย และอยุธยา มีคูน้ำล้อมเนินดิน ที่นี่เองปรากฏพระเครื่องประเภทหนึ่งเป็นที่นิยมเล่นหาและมีพุทธคุณสูงส่ง เรียกกันในวงการว่าพระกรุวัดอรัญญิก มีหลากหลายพิมพ์ เป็นเนื้อชิน ที่รู้จักกันดีก็คือ พระซุ้มคอระฆัง ซึ่งพบว่าขึ้นมากมายหลายกรุ อาทิ สุโขทัย สวรรคโลก กำแพง เพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ และยังพบที่กรุวัดราชบูรณะ อยุธยาซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) อีกด้วย จากพุทธลักษณะแล้วพระซุ้มคอระฆัง กรุวัดอรัญญิก พิษณุโลกนี้ จะมีศิลปะสุโขทัยปรากฏชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับกรุวัดราชบูรณะอยุธยา จะพบว่าเนื้อชินของกรุอรัญญิกจะมีความเก่าแก่กว่า ปรากฏรอยผุแตกปริ และมีสนิมดำแบบที่เรียกว่าสนิมตีนกาอยู่ทั่วไป รูปลักษณ์ขององค์พระนั้นหากมองโดยรวมจะมีรูปร่างคล้าย "ระฆัง" มีซุ้มลายกระหนกและปลียอด องค์พระพุทธประทับนั่งกึ่ง กลาง บนฐานชุกชี ส่วนองค์ระฆังมีบัวคว่ำบัวหงายรองรับ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วลักษณะดังกล่าวหากพิจารณาให้ดีจะพบว่านอกจากจะเหมือนระฆังแล้ว ยังมีรูปแบบเป็นเจดีย์ทรงลังกา หรือเจดีย์ทรงระฆังคว่ำซึ่งสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากลังกา ครบองค์ประกอบตั้งแต่ปลียอดพระเจดีย์ บัลลังก์ซุ้มลายกระหนก (ซึ่งน่าจะได้อิทธิพลของเขมร) องค์พระประธานประทับนั่งอยู่กึ่งกลางพระเจดีย์ที่เรียกว่า ครรภธาตุ หรือ เรือนธาตุ โดยมีบัวปากระฆังรองรับอีกชั้นหนึ่ง จึงนับได้ว่า "พระซุ้มคอระฆัง กรุวัดอรัญญิก" นี้ เป็นพระสำคัญที่แสดงให้ เห็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ในช่วงรอยต่อของสุโขทัย ที่ยังมีอิทธิพลเหนือเมืองพระพิษณุโลก และยังมีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ทรงลังกาที่ประดิษฐาน และเชื่อว่าเป็นพระเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดองค์หนึ่งในเมืองพระพิษณุโลกอีกด้วย 
ชื่อร้าน : บูรพาจารย์2
เบอร์โทรศัพท์ : 088-400-9967
จำนวนคนเข้าชม   3,130 คน 


------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย 
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น