@@@ พระรูปเล็กกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ หลังพระแก้วมรกต ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๘๐ @@@

@@@ พระรูปเล็กกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ หลังพระแก้วมรกต ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๘๐ @@@

@@@ พระรูปเล็กกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ หลังพระแก้วมรกต ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๘๐ @@@

รหัส : 9189 
ชื่อพระ : @@@ พระรูปเล็กกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ หลังพระแก้วมรกต ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๘๐ @@@
สถาณะ :
ราคา : โชว์พระ
รายละเอียด : @@@ พระรูปเล็กกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ หลังพระแก้วมรกต ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๘๐ @@@ เมื่อความนิยมในการสร้างครั้งที่ ๑ ยังมีอยู่มากและมีผู้คนที่ศรัทธาจำนวนมากที่ต้องพลาดจากการจองในครั้งแรก เมื่อมีการขอร้องแกมรบเร้า พ.อ.พระยาศรีสุรสงคราม จึงตกลงใจสร้างอีกเป็นครั้งที่ ๒ โดยใช้โลหะที่เหลือจากการสร้างในครั้งที่ ๑ กับแผ่นทองแดงที่ได้ส่งไปให้พระคณาจารย์รวม ๒๖ รูป ลงอักขระและปลุกเสกมาหลอมรวมกัน เทลงหุ่นแล้วนำไปพิมพ์ปั๊มซ้ำให้มีลวดลายงดงามตามที่ต้องการ วัตถุมงคลที่สร้างในครั้งที่ ๒ นี้ มี ๔ ชนิด คือ พระรุปขนาดเล็ก ๒ เซ็นต์ ( ที่ลงโชวฺ) , พระรูปขนาดบูชา ๖ นิ้ว , แหวนมงคล ๙ และเหรียญรูปไข่พระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สำหรับพระรูปเล็ก ๒ เซ็นต์ เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีหูในตัว ขนาดกว้าง ๑.๙ ซ.ม. สูง ๒.๕ ซ.ม. หนา ๐.๕ ซ.ม. ด้านหนึ่งเป็นพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้าประทับบนพระแท่นภายในซุ้มเรือนแก้ว ๒ ชั้น ที่พระแท่นมีคำว่า ชินวร และที่ฐานของพระแท่นมีตัวเลข พ.ศ.๒๔๘๐ อีกด้านหนึ่งเป็นพระแก้วมรกตประทับบนพระแท่นภายในซุ้มเรือนแก้วเช่นเดียวกัน ภายในซุ้มเรือนแก้วมีคำว่า พระแก้วมรกต ประกอบด้วยลายกนกอยู่รอบองค์พระ จำนวนการสร้างประมาณ ๑,๐๐๐ องค์ ประกอบพิธีร่วมกับการหล่อพระรูปใหญ่เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๘๐ สวดพิธีพุทธาภิเษกนั่งปรกบริกรรมกันภายในพระอุโบสถวัดราชบพิธฯทั้งคืน รุ่งขึ้นวันที่ ๓ มีนาคม ๒๔๘๐ ทำพิธีปลุกเสกต่อโดยพระอาจารย์นั่งล้อม ๘ ทิศ แล้วจึงให้ช่างนำไปตกแต่งอีกครั้งหนึ่ง สรุปพระอาจารย์ที่เกี่ยวข้องทั้งการลงแผ่นยันต์โลหะและเข้าร่วมพิธีรวม ๓๘ รูป @@@ รายนามพระคุณเจ้าที่ได้กรุณาลงอักขระคาถาและปลุกเสกแผ่นโลหะสำหรับเข้าพิธีหล่อพระรูปและอาราธนามาช่วยประกอบพิธีการหล่อจนสำเร็จ คือ ๑) เจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (แพ) วัดสุทัศน์ฯ ๒) เจ้าพระคุณสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ชื่น) วัดบวรฯ ๓) เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินท์ฯ ๔) เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดพระเชตุพนฯ ๕) เจ้าคุณพระศาสนโสภณ (แจ่ม) วัดมกุฏฯ ๖) ฯลฯ ๑๘) พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปานฯ) วัดบางนมโคฯ ฯลฯ ๒๒) ท่านอาจารย์เลียบ วัดเลาฯ ๒๓) พระปลัดมา วัดราชบูรณะ ฯลฯ ๒๕) ท่านอาจารย์เผือก วัดกิ่งแก้ว บางพลีใหญ่ ฯลฯ ๒๗) พระโพธิวงศาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม ๓๑) พระครูเหลือ วัดสาวชะโงก ๓๒) พระอาจรย์อี๋ วัดสัตหีบ ฯลฯ ๓๔) พระปลัดเส่ง วัดกัลยาณมิตรฯ ฯลฯ ๓๕) พระอาจารย์บุญชู วัดโปรดเกศฯ @@@ นอกจากนั้น ยังมีข้อกังขาว่า สร้างครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๕-๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๐ แล้วทำไมการสร้างครั้งที่ ๒ จึงบันทึกว่าเป็นวันที่ ๒-๓ มีนาคม ๒๔๘๐ ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่การสร้างครั้งที่ ๑ ได้กระทำในเดือนธันวาคม แล้วครั้งที่ ๒ จะย้อนเวลากลับมากระทำในเดือนมีนาคมนั้น จะเป็นไปได้อย่างไร ผู้บันทึกน่าจะบันทึกวันเวลาดำเนินการที่ผิดพลาดไปแล้วแน่ ๆ แต่ความเป็นจริงนั้นก็คือ บันทึกดังกล่าวนั้นถูกต้องแล้วครับ เพราะการนับเรียงเดือนในแต่ละปีเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ นั้น ถือเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ เมื่อนับเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนที่ ๑ ในยุคของปี พ.ศ.๒๔๘๐ ดังนั้น เดือนธันวาคม จึงต้องนับเป็นเดือนที่ ๙ และเดือนมีนาคมต้องนับเป็นเดือนที่ ๑๒ ไงล่ะครับ OK ??? @@@ และกว่าที่ประเทศไทยเราจะมานับเอาเดือนมกราคมเป็นปีใหม่ตามหลักสากล วันเวลาก็ได้ล่วงเลยมาจนถึง พ.ศ.๒๔๘๔ แน่ะ ครับ ลูกพี่ @@@  
ชื่อร้าน : kik-kok
เบอร์โทรศัพท์ :
จำนวนคนเข้าชม   5,659 คน 


------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย 
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น