ยันต์ตะกรุดเสื้อ ครูบา ชุ่มโพธิโก แห่งวัดวังมุย (วัดชัยมงคล)จังหวัดลำพูน

ยันต์ตะกรุดเสื้อ ครูบา ชุ่มโพธิโก แห่งวัดวังมุย (วัดชัยมงคล)จังหวัดลำพูน

ยันต์ตะกรุดเสื้อ ครูบา ชุ่มโพธิโก แห่งวัดวังมุย (วัดชัยมงคล)จังหวัดลำพูน

รหัส : 976 
ชื่อพระ : ยันต์ตะกรุดเสื้อ ครูบา ชุ่มโพธิโก แห่งวัดวังมุย (วัดชัยมงคล)จังหวัดลำพูน
สถาณะ :
ราคา :
รายละเอียด :

ตำนานลือลั่นของ ยันต์ตะกรุดเสื้อ รุ่นกองพลเสือดำ
                หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ได้เกิดสงครามเวียดนามคุกรุ่นขึ้น โดยในราวปี พ.ศ.2507 รัฐบาลเวียดนามใต้ ได้ส่งหนังสือขอความช่วยเหลือทางการทหาร และทางเศรษฐกิจจากประเทศฝ่ายโลกเสรีรัฐบาลไทยได้ลงมติรับหลักการให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามใต้ ต่อสู้กับเวียดนามเหนือ ซึ่งมีการปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 โดยพิจารณาจัดส่งกำลังพลไปเป็นระยะๆ ตลอดเวลาหลายปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้ส่งกำลังเพิ่มเติมในรูปของกองพลทหารเข้าทำการรบทั้งสิ้นจำนวน 3 ผลัด ผลัดละ 1 ปีเหล่าทหารอาสาสมัครในกองพลเสือดำรุ่นที่ 1 และ 2 จำนวนหลายสิบนาย ได้มากราบนมัสการหลวงปู่ชุ่ม เพื่อขอวัตถุมงคลไว้เป็นสิริมงคล และปกป้องคุ้มภัย ก่อนเดินทางเข้าร่วมรบในสงคราม ซึ่งหลวงปู่ได้มอบ ยันต์ตะกรุดเสื้อ ให้กับทหารทุกนาย ปรากฏว่า ทหารหน่วยพลเสือดำที่มียันต์ตะกรุดเสื้อ ต่างรอดพ้นจากภยันตรายกลับสู่ภูมิลำเนา พร้อมกันทุกนาย ต่อมายังได้รับเหรียญกล้าหาญมาประดับอกเชิดชูความเสียสละ กล้าหาญ อีกด้วย หลังจากนั้น ทุกครั้งที่เหล่าทหารหาญรุ่นต่อไปจะออกเดินทางเข้าสู่สมรภูมิรบ หลวงปู่ชุ่มจะได้รับนิมนต์ให้เป็นประธานประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่บริเวณชานชาลาสถานีรถไฟเชียงใหม่ทุกครั้ง ทหารบางนายมาขอให้หลวงปู่ชุ่มอาบน้ำพระพุทธมนต์ถึงวัดวังมุยเลยก็มีมูลเหตุของการสร้าง ยันต์ตะกรุดเสื้อ นั้น เนื่องมาจากสามเณรองค์หนึ่งซื่อสามเณรบุก เป็นชาวบ้านศรีสุพรรณ จ.ลำพูน สามเณรผู้นี้มีความสนใจทางด้านคาถาอาคมมาก ได้ยินกิตติศักดิ์ในเรื่องการลงอักขระเลขยันต์ การผูกยันต์และความเก่งกล้าทางวิทยาคมของครูบาเจ้าชุ่ม จึงได้เพียรพยายามมาขอให้ท่านทำตะกรุดไปใช้ ท่านจึงได้ผัดผ่อนเรื่อยมา สามเณรก็เพียรพยายามขอหลายต่อหลายครั้งอย่างไม่ย่อท้อ จนหลวงปู่ชุ่มทนการรบเร้าอ้อนวอนจากสามเณรไม่ได้ จึงได้จัดสร้างตะกรุดเสื้อให้ไปหนึ่งชุดเมื่อสามเณรได้ตะกรุดเสื้อจากหลวงปู่ชุ่มไปแล้ว นายวงค์ผู้เป็นน้าชายของสามเณรนั้น ได้ขอยืมตะกรุดเสื้อต่อจากสามเณรไปอีกที ปรากฏว่าหลังจากนั้น นายวงค์ผู้นี้ไปเป็นมิจฉาชีพ ทำการจี้ ปล้น สดมภ์ ชาวบ้านทั่วภาคเหนือจนได้รับขนานนามว่า เสือวงค์   ข่าวการจี้และปล้นสดมภ์ของเสือวงค์ในยุคนั้น ร้อนถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามที่ต้องวางแผนหาทางสกัดจับเสือวงค์ให้ได้โดยเร็ว แต่ในการเข้าปะทะจับกุม เสือวงค์ผู้นี้ก็สามารถฝ่าวงล้อมและห่ากระสุนหลบหนีไปได้ทุกครั้ง โดยมิได้รับอันตรายเลยการปล้นสดมภ์ของเสือวงค์ได้แผ่ขยายพื้นที่มากขึ้น สร้างความหวาดกลัวให้แก่ชาวบ้าน แล้วยังสร้างความลำบากใจให้เจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ด้วย สามเณรบุกจึงได้สารภาพกับหลวงปู่ชุ่ม ถึงเรื่องที่เสือวงค์ขอยืมเอาตะกรุดเสื้อจากตนแล้วหนีหายกลายไปเป็นเสือร้าย ยังความสลดใจให้กับหลวงปู่ชุ่มอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม เรื่องของยันต์ตะกรุดเสื้อ เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตเป็นอนุสสติให้ระลึกว่า ของดีขอวงศักดิ์สิทธิ์นั้น หากนำไปใช้ในทางที่ผิดก็ย่อมถูกโมหะเข้าครอบงำก่อให้เกิดโทษ ในทางกลับกันของสิ่งเดียวกันนั้นทากถูกใช้อย่างพินิจพิจารณาด้วยจิตอันเป็นกุศล ย่อมยังคุณประโยชน์อย่างมหาศาล 

 
ชื่อร้าน : ตะวันเวียง
เบอร์โทรศัพท์ : 0612654666
จำนวนคนเข้าชม   2,918 คน 


------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย 
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น